หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

จารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาและตัวอักษรไทย

จารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาและตัวอักษรไทย


https://sites.google.com/a/hatyaiwit.ac.th/sila-caruk-phxkhun-ramkhahaeng/2-prawati-sila-caruk

จารึกหลักแรกที่ใช้ภาษาไทยและตัวอักษรไทย คือ จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จารึกพ่อขุนราม เป็นจารึกที่ถูกจารึกลงบนหินทรายแป้งเนื้อละเอียด

มีลักษณะ : เป็นหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่าทรงกระโจม

มีขนาด : กว้างด้านละ 35 เซนติเมตร สูง 111 เซนติเมตร

ถูกพบเมื่อ ปีพุทธศักราช 2376 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่4 ทรงหนวช และเสด็จธุดงค์ไปสุโขทัยเมืองเก่า และทรงพบศิลาแท่งนี้ และพระองค์ท่านยังเป็นผู้ที่สามารถอ่านจารึกได้เป็นคนแรกอีกด้วย

เนื้อหาในศิลา 
ถึงแม้ว่าเนื้อหาในศิลาจารึกนี้จะมีเนื้อความสั้นเพียง 124 บรรทัด แต่ก็บรรจุเรื่องราวหลากหลายด้านไว้ด้วยกัน ได้แก่ ด้านศาสนา ด้านภาษาศาสตร์ ด้านนิติศาสตร์ ด้านรัฐศาสตร์ ด้านเศราฐศาสตร์ ด้านประวัติศาสตร์และด้านภูมิศาสตร์
เนื้อหาบนศิลาจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ตอน 
ตอนที่1 บรรทัดที่ 1-18 จะเป็นการกล่าวถึงประราชประวัติของพ่อขุมรามคำแหง
ตอนที่2 กล่าวถึงพระราชกรณียกิจและขนบธรรมเนียมในกรุงสุโขทัย
ตอนที่3 จะเป็นการกล่างถึงคำยอพระเกียรติพ่อขุนราม
จากการสังเกตุลักษณะตัวอักษร มีการสัณนิฐานว่า มีการจารึกแต่ละตอนนั้น ต่างช่วงเวลากัน เนื่องจากมีลักษณะของตัวอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไป 

จารึกหลักนี้เป็นการประดิษฐ์ตัวอักษรที่เป็นต้นเค้าของ พ่อขุนรามคำแหง ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังมีลักษณะคงเดิม

ปัจจุบัน : ศิลาจารึกหลักนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพมหานคร

https://www.bloggang.com/m/mainblog.php?id=morkmek&month=27-10-2014&group=10&gblog=91

อ้างอิง
วาทิน ศานติ์ สันติ. (2556). ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง มรดกไทย มรดกโลก. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์, 2561, จากhttps://www.gotoknow.org/posts/160421

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (ไม่ปรากฏ). จารึกพ่อขุนรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์, 2561, จากhttp://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=47

สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2549). สนเทศน่ารู้:ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์, 2561, จากhttp://www.lib.ru.ac.th/journal/stone_inscript.html

สารสนเทศจังหวัดที่ตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จังหวัดสุโขทัย. (ไม่ปรากฎ). จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์, 2561, จากhttp://www.info.ru.ac.th/province/Sukhotai/srj4.htm

วิกิพีเดีย. (ไม่ปรากฏ). จารึกพ่อขุนรามคำแหง. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์, 2561, จากhttps://th.m.wikipedia.org/wiki

วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดชัยภูมิ

เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดชัยภูมิ
เจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดชัยภูมิ คือ พระยาภักดีชุมพล(แล)
ท่านเป็นบุคคลที่ชาวจังหวัดชัยภูมิเคารพนับถือในฐานะผู้ที่เสียสละเพื่อชาติ บ้านเมืองของตนเอง

ประวัติพระยาภักดีชุมพล
ชื่อเดิม:นายแล
สถานที่เกิด:เวียงจันทน์
ชาติพันธุ์:ลาว
เป็นเจ้าเมืองชัยภูมิเมื่อ:พ.ศ.2365-2369

การได้รับพระราชทานยศ
1.พระพี่เลี้ยงราชบุตร จากเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์
2.ขุนภักดีชุมพล จากเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์
3.พระภักดีชุมพล จากเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์
4.พระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองคนแรกชัยภูมิ จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่3

ท่านเป็นเจ้าเมืองชัยภูมิได้อย่างไร?
นายแล ได้ลาออกจากการเป็นพี่เลี้ยงบุตรของพระเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ จากนั้นพาภรรยาและสมัครพรรคพวกนับร้อยครัวเรือน ข้ามโขงจนมาถึงหนองบัวลำภู อยู่ได้สักพักแล้วจึงย้ายถิ่นฐานไป บ้านน้ำขุ่น หนองอียาง ลำตะคลอง จนพ.ศ.2362 ได้เดินทางหาทำเลใหม่ไปที่บ้านโนนน้ำอ้อม (บ้านชีลอง ในปัจจุบัน จ.ชัยภูมิ) นายแลมิได้ลืมบุญคุณเจ้านายเดิมของเขา จึงได้ส่งเครื่องบรรณาการถวายเจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์ เจ้าอนุวงศ์จึงแต่งตั้งให้นายแลเป็น ขุนภักดีชุมพล ต่อมาบ้านโนนน้ำอ้อมเริ่มแออัด จึงอพยพไปที่บ้านหลวง หรือบริเวณบ้านหนองหลอดและหนองปลาเฒ่า จ.ชัยภูมิในปัจจุบัน และหลังจากนั้น ขุนภักดีชุมพลไม่ยอมส่งส่วนให้เจ้าอนุวงศ์ เพราะเห็นว่า เวียงจันทน์เป็นเมืองขึ้นของสยาม ขุนภักดีชุมพลจึงเข้าหา พระยานครราชสีมาและส่งส่วยให้สยาม ทำให้พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานยศ ขุนภักดีชุมพลเป็น ‘พระยาภักดีชุมพล’

สาเหตุการเสียชีวิตของพระยาภักดีชุมพล
เกิดจาก พระยาภักดีชุมพลไม่ยอมร่วมก่อกบฎกับเจ้าอนุวงศ์ในปี พ.ศ.2369 เจ้าอนุวงศ์จึงโกรธแค้นมาก ทั้งๆที่พระยาภักดีชุมพลเป็นคนชาติลาว จึงได้วกกลับมาเมืองชัยภูมิหลังจากพ่ายแพ้การเข้าตีของ คุณหญิงโมเจ้าเมืองนครราชสีมาและพระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิที่ทุ่งสำริด และกลับมาประหารชีวิตพระยาภักดีชุมพลที่ใต้ต้นมะขาม ริมบึงหนองปลาเฒ่า 

สถานที่ระลึกถึงพระยาภักดีชุมพล:อนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล และ ศาลเจ้าพ่อพญาแล ริมบึงหนองปลาเฒ่า

อ้างอิง
วิกิพีเดีย. (2561). พระยาภักดีชุมพล(แล). สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์, 2561, จากhttps://th.m.wikipedia.org/wiki/พระยาภักดีชุมพล_(แล)
Khim. (2561). ประวัติเจ้าพ่อพญาแล. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์, 2561, จากhttp://khim-yuencheevee.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
ไม่ปรากฏ. ไม่ปรากฏ. ประวัติพระยาภักดีชุมพล(เจ้าพ่อพญาแล)เทพเจ้าของความชัยภูมิและวัตถุมงคล. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์, (2561), จากhttp://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0109



ปราสาทหินพนมรุ้ง

ประสาทหินพนมรุ้ง https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ตั้งบนเขาพนมรุ้ง สร้างขึ้...